วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

ด้วงแรด ด้วงงวง ศัตรูพืชมะพร้าวที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม

ด้วงแรด ด้วงงวง : ศัตรูพืชมะพร้าวที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม

ขอแจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวทุกพื้นที่ ให้เฝ้าระวังและตรวจสอบแปลงปลูกมะพร้าวของท่าน เนื่องจากขณะนี้ ได้พบว่ามีสวนมะพร้าวของเกษตรกรหลายราย ที่กาลังประสบปัญหาการทาลายของด้วงแรด และด้วงงวง (หรือด้วงไฟ) มะพร้าว และอาจจะแพร่ระบาดขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้นในภายหน้า หากเกษตรกรไม่ช่วยกันตรวจสอบแปลงหรือป้องกันกาจัดในสวนของเกษตรกรเอง

โดยลักษณะการทาลาย ตัวเต็มวัยของด้วงแรดมะพร้าว จะกัดเจาะโคนทางมะพร้าวทาให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทาลายยอดอ่อนทาให้ใบเกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยแหว่งเป็นริ้ว คล้ายรูปสามเหลี่ยมใบแคระแกรน ที่สาคัญรอยแผลที่ด้วงแรดทาลายจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวง หรือ ด้วงไฟ มะพร้าวเข้ามาวางไข่ กัดกินโคนยอดอ่อน ทาให้เกิดโรคยอดเน่าได้
การป้องกันกาจัดด้วงแรด
๑.ดูแลทาความสะอาดแปลงและหมั่นตรวจดูแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด ได้แก่ กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ ต้นมะพร้าวที่หักโค่นล้ม หากพบหนอนให้จับทาลาย

๒.ใช้สารฟีโรโมน หรือ สารล่อด้วงแรด สามารถดึงดูดด้วงแรดได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ๑ กับดักครอบคลุมพื้นที่ได้ ๑๓ ไร่ หรือระยะห่างทุกๆ ๑๔๐ เมตร

๓.ใช้เชื้อราเขียวเมตตาไรเซียม โดยใส่เชื้อราเขียวไว้ในกองปุ๋ยหมักหรือแหล่งอาศัย แหล่งเพาะพันธุ์ สามารถทาลายด้วงแรดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต


 



 
 

 

 
การป้องกันกาจัดด้วงงวงหรือด้วงไฟ

๑.หมั่นตรวจแปลงมะพร้าว สังเกตอาการและระมัดระวังอย่าให้ต้นมะพร้าวเกิดบาดแผล หากพบต้นมะพร้าวถูกด้วงงวงระบาด ควรโค่นทิ้งเพื่อทาลายแหล่งที่อยู่อาศัยและกาจัดด้วงงวงที่พบ

๒. ใช้น้ามันเครื่องที่ใช้แล้วหรือชันผสมน้ามันยาง ทารอบต้นตั้งแต่โคนต้นทิ้งถึงระดับเหนือพื้นดินที่พบรอยแผล ปีละ ๒ ครั้ง เพื่อป้องกันการวางไข